วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ชั้นติดผนัง ท่อประปา แนว loft เคาน์เตอร์บาร์

ท่อขนาด 4 หุนกัลวาไนต์ ไม้ยางพาราประสานหนา 20 มม. เว้นพื้นที่ด้านซ้ายไว้แขวนแก้วไวน์
 

ลูกค้าสั่งเป็นชุดที่ 2... ตัวนี้ออกแบบให้เป็นพิเศษ แนวโชว์โครงสร้าง ลค.ประกอบ ติดตั้งเอง

 แต่... เราทดลองประกอบของจริงก่อนส่งลูกค้าทุกชุด เพื่อ ให้แน่ใจว่าสินค้าไม่มีปัญหาในการประกอบ

เจาะรูไม้ และ ค่อยๆประกอบไปทีละชิ้นส่วน ให้ได้ขนาดและสัดส่วนตามแบบ จุดสำคัญๆอัดเกลียวให้ลูกค้าไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อสินคัาไปถึงมือลูกค้า การประกอบจะง่าย และ รวดเร็วขึ้นมาก

รูปทดลองประกอบก่อนทำสีไม้


ขอบคุณมากครับผม

ถึก ธนูทอง
088 431 5597
LINE ID: pompokkam



วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ราวติดผนังท่อประปา แนวลอฟท์ ตกแต่งบ้าน

ลูกค้าให้ไอเดียที่อยากให้มา เราออกแบบให้คอนเฟิร์มขนาดเท่าของจริง



แบบที่ได้...
ไม้สีอ่อน... ท่อกัลวาไนต์ คาดน้ำเงิน 6 หุน ทำสีดำด้าน







แพ็คอย่างดีสำหรับงานทำสีท่อ... 
จุดที่สำคัญๆ อัดเกลียวให้แล้ว ประกอบง่ายๆๆ อุปกรณ์ติดตั้งครบ

ขอบคุณครับผม


ถึก ธนูทอง
088 431 5597
LINE ID: pompokkam


วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ราวผ้าท่อประปา แนวลอฟท์

เดือนสุดท้ายสิ้นปี ราวผ้าแบบนี้ถือว่า HOT ส่งท้ายปี 60 ... 

แบบที่ใช้ท่อกัลวาไนต์คาดน้ำเงินขนาด 6 หุน ที่แน้นความแข็งแรงเป็นพิเศษ

และ ตัวฮ๊อต คือแบบที่ใช้ท่อขนาด 4 หุน ... ดูกันหลายๆมุมครับ (สองตัวหลังสุด)

สองตัวนี้ครับ 4 หุน....5555

2 ตัวด้านหน้าเป็นท่อ 6 หุน... 
 



ถึก ธนูทอง
088-4315597
LINE ID: pompokkam





ชั้นติดผนังแนวลอปท์ ท่อประปา

คุณลูกค้า จากจอมทอง เชียงใหม่ จะทำชั้นใส่โฮมออฟฟิต ... จัดไปตามไอเดียของลูกค้าที่สเก็ตมาให้คร่าวๆๆ

พูดคุยปรับแก้กันไป จนได้แบบที่ลงตัว... แนวโชว์ ถอดประกอบง่ายๆๆ ...




ตอนอัดเกลียวให้ได้ระยะนี่ ไม่ง่ายเลยครับขอบอก... 

แต่ลูกค้าสบายใจได้ จุดสำคัญๆ เราอัดเกลียวให้แล้ว
...
....
......

ทำออกมาก็ประมาณนี้... ตอนแรกลูกค้าจะทำไม้เอง...

แต่สุดท้ายเห็นราคาแล้วให้เราทำทั้งชุดพร้อมไม้เลยครับ... ลูกค้ากระซิบว่า ราคาถูกกว่าทีคิดไว้



ชุดนี้ลูกค้ามารับเองที่ร้านเลย ขอบคุณมากครับผม...

ถึก ธนูทอง
088-4315597
LINE ID: pompokkam





โต๊ะทำงานจากลังไม้เก่า

ช่วงว่างๆ... มีความคิดว่าจะเอาลังไม้เก่าทำโต๊ะ ... ไม่ได้ออกแบบไว้ ทำไปด้วยคิดไปด้วย 555

เริ่มจากใส่ล้อเหล็ก และ เผาฝาปิดด้วยแก๊ส

แล้วก้ขัดกระดาษทราย ให้สีมันอ่อนนุ่มลงหน่อย

รู้สึกว่าปิด-เปิด ยาก .... เกิดไอเดีย ทำชั้นด้านใน แบ่งครึ่งฝา ใส่บานพับ มั่วๆไปแบบไม่มีแผน เน้นแก้ไขเฉพาะหน้าไป 5555
ลองเอาเครื่องมือใส่ 
  ใช้ได้เลย 5555

ได้โต๊ะทำงานมา 1 ตัว ขาดเก้าอี้ยาว ... จัดแบบมั่วๆขึ้นมาอีกตัว เริ่มจากขาเก้าอี้ ตัดๆ ต๊าปๆ ก็ได้ตามรูปเลย ใช้งบในการซื้ออุปกรณ์พอสมควร แต่ถ้าชอบก็คุ้ม 555
ยึดไม้ด้วยสกรูเมทัลชิทยาวๆๆเลย แน่นผุดๆๆ 
 แล้วก็ตามระเบียบ... เผา แล้วก็ขัด 5555
ลงแลคเกอร์หน่อย จะได้เห็นลายไม้ชัดๆ 

แล้วก็เสร็จ... ใช้เวลากะเจ้านี่ไปพอสมควรเลย ...

ถึก ธนูทอง
088-4315597
line id: pompokkam







วันพุธที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เปรียบเทียบเฟอร์นิเจอร์ ท่อประปา กับ เหล็กกล่อง

งานแนวลอฟท์ที่ผมจะเปรียบเทียบต้นทุนให้ดู เป็นแนว ท่อประปา และ เหล็กกล่องเชื่อม เอาไว้เป็นแนวทางสำหรับนัก DIY ในการเตรียมความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่าย หรือ ผู้ที่สนใจงานทั้งสองแบบ ให้เข้าใจลักษณะความแตกต่างเรื่องโครงสร้าง จะได้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นดังนี้ครับ

ตัวอย่างที่นำมาเปรียบเทียบเป็นชั้นติดผนัง


ทั้ง 2 แบบเป็นชั้นติดผนังขนาด 1 x 1 เมตร ใช้ท่อประปา 4 หุน และ เหล็กกล่อง 1 นิ้ว ประมาณ 9 เมตร ... แต่ถ้าไปซื้อที่ร้าน เขาขายเป็นเส้น เส้นละ 6 เมตร จึงคำนวนราคาที่ 2 เส้นนะครับ
จากราคาในตาราง งานท่อประปาต้นทุนอาจจะถูกลงกว่านี้ประมาณ 10% เพราะ ร้านที่สร้างงานแนวนี้ จะซื้อวัสดุปริมาณมาก ทำให้ราคาต่อชิ้นถูกลง 

แต่สิ่งที่ผมจะสื่อให้ดูคือเรื่องต้นทุนที่แตกต่างกันเกือบเท่าตัว ซึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้งานท่อประปามีต้นทุนที่สูงกว่า คือ จำนวนท่อน ซึ่ง สัมพันธุ์กับจำนวนเกลียวที่จะต๊าปหัวท้าย และ ปัจจัยสำคัญคือจำนวนข้อต่อที่ใช้...  ในขณะที่งานเหล็กกล่องใช้แค่ลวดเชื่อมประมาณครึ่งกล่องเท่านั้น แต่ช่างที่เชื่อมต้องมีทักษะ งานถึงจะออกมาสวย

การออกแบบ ก็เป็นอีกตัวแปรที่สามารถช่วยลดต้นทุนของงานท่อประปาได้ ว่าต้องการแนวโชว์โครงสร้างที่ใช้ข้อต่อเยอะ หรือ แนวใช้งานที่เน้นแค่การกอดประกอบได้... แต่การออกแบบก็มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกันในเรื่องทิศทางของท่อ เมื่อออกแบบแล้วต้องประกอบได้ เพราะ จะถูกบังคับด้วยเกลียวที่หมุนทิศทางเดียว

ข้อดีข้อเสียของงานทั้งสองแบบคือ
1. งานเหล็กกล่องจะมีราคาที่ถูกกว่า เพราะ ต้นทุนถูกกว่า ถึงแม้ต้องทำสีกันสนิมเพิ่มเติมขึ้นมา แต่ก็ยังมีตันทุนถูกกว่าอยู่ดี เพราะ ต้นทุนการทำสีเหล็กกล่องจะอยู่ประมาณ 500-600 บาท สำหรับโครงสร้างขนาด 1 x 1 เมตร
2. งานท่อประปาสามารถแยกชิ้นส่วนได้ มีข้อดีในเรืองค่าส่งที่ถูกกว่า เช่น ตัวอย่างที่ยกมา งานเหล็กกล่องค่าส่งพัสดุประมาณ 800-1000 บาท แต่งานท่อประปาค่าส่งจะประมาณ 120-200 บาท... และ การเปลี่ยนชิ้นส่วน การประยุกต์ดัดแปลง งานท่อประปาจะเปลี่ยนง่ายกว่า ถูกกว่าเพราะแยกชิ้นได้นั่นเอง
3. ความสวย การโชว์โครงสร้าง ท่อประปาจะดูสวยกว่าอยู่แล้ว
4. การทำสีท่อประปากัลวาไนต์ ในกรณีที่ต้องการทำสีดำ จะมีราคาที่สูงกว่าเหล็กธรรมดา เพราะ ผิวที่ลื่น มันวาว ป้องกันสนิม ทำให้ใช้สีรองพื้นอุตสาหกรรมธรรมดาไม่สามารถเกาะติดแน่นได้ จะหลุดลอกง่ายออกเป็นแผ่นๆ จึงจำเป็นต้องใช้สีรองพื้นเฉพาะของท่อกัลวาไนต์เท่านั้น ค่าต้นทุนทำสีท่อกัลวาไนต์ชุดที่ยกตัวอย่างมาจะอยู่ที่ประมาณ 900 - 1000 บาท 

ราคาวัสดุ และ เกรดที่เลือก
ราคาอุปกรณ์ที่ผมนำมาคำนวน อ้างอิงจากในอินเตอร์เน็ตนะครับ บางร้านอาจจะถูกหรือแพงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปริมาณที่สั่งซื้อ เกรดวัสดุ และ แหล่งที่มา ยกตัวอย่างให้ดูดังนี้ครับ

ท่อผมใช้ 1/2 คาดน้ำเงินเท่านั้น ราคา 573 บาทต่อเส้น 
ที่ใช้คาดน้ำเงินเพราะ ผนังท่อจะหนาเมื่อต๊าปเกลียวจะเกิดร่องเกลียวเข้าไปในเนื้อเหล็ก และ เนื้อเหล็กที่เหลือจากเกลียวจะเยอะกว่า  ดังนั้นจะแข็งแรงกว่าคาดสีอื่นๆ ... ส่วนท่อดำผมไม่ค่อยใช้ ถึงแม้ราคาจะถูกกว่า แต่ไม่ชอบเรื่องสนิม ถึงจะทำสีภายนอก สนิมก็จะเกิดจากด้านในท่อออกมา... ถ้าอยากได้สีดำ ก็ทำสีท่อกัลวาไนต์ดีกว่า จ่ายเพิ่มอีกนิด ใช้งานได้ยาวๆถึงลูก ถึงหลานเลยดีกว่า

เหล็กกล่อง 1 นิ้ว ผมเลือกความหนา 2.3 มม. ราคาเส้นละ 214.20 บาท
จะเลือกเหล็กที่บางกว่านี้ก็ได้ แต่ผมมั่นใจที่ความหนามากกว่า 2 มม. เพราะจะได้ความแข็งแรงของแนวเชื่อมมากกว่า 

ส่วนราคาข้อต่อ ผมจะยกตัวอย่าง 1 ตัว เช่น สามทาง หรือ สามตา ขนาด 1/2" ราคา  26.50 บาทต่ออัน ถ้าซื้อเยอะก็จะมีส่วนลด เช่น เป็นถุง 20 ตัว หรือเป็นลัง 500 ตัว... แต่ผมจะคำนวนเป็นชิ้น เพราะ DIY ทุกคนคงจะซื้อปริมาณเท่าที่ต้องใช้เท่านั้น 555 ... อีกอย่างที่ควรระวังคือของเกรดต่ำที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ผิวข้อต่อจะบาง ขนาดจะเล็กกว่ามาตราฐาน และ รูเกลียวจะไม่ค่อยตรง ทำให้เมื่อหมนท่อเข้าไปแล้วจะเอียง ทำให้ประกอบยาก และ ไม่สวย... สำหรับนัก DIY ผมแนะนำข้อต่อของ BC ครับ คุณภาพมาตราฐาน
หวังว่าโพสต์นี้จะพอมีประโยชน์อยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย เพื่อช่วยในการตัดสินใจเบื้องต้น และ ให้เข้าใจในต้นทุนของงานแบบเดียวกัน แต่ใช้วัสดุต่างกันครับ

ถึก ธนูทอง
088-4315597
Line: pompokkam